วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวัดศาลสกุล

วัดศาลากุล



วัดศาลากุล
ที่ตัง
                วัดศาลากุล ตั้งอยู่ที่บ้านศาลากุล หมู่ ๒ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ประวัติความเป็นมา
                วัดศาลากุล เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นวัดของชุมนที่มีประชากรไม่มาก เนื่องจากในสมัยนั้นประชาชนไม่นิยมอยู่อาศัยในบริเวณชายตลิ่งที่เป็นที่ดินงอก เพราะการสัญจรไปมาทางน้ำไม่สะดวกเหมือนเช่นบริเวณริมแม่น้ำที่ไม่มีดินงอก ผู้คนจึงมาอยู่กันในลัดเกร็ด และบริเวณทางตลาดท่าทรายมากกว่า วัดศาลากุลเมื่อเริ่มสร้างวัดคงอยู่ไม่ห่างจากแม่น้ำมาก และมีคลองวัดศาลากุลเป็นทางเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาที่ดินงอกออกไปมาก ปัจจุบันนี้วัดศาลากุลจึงอยู่ห่งจากแม่น้ำเจ้าพระยามากเช่นกัน
                วัดศาลากุลถูกปล่อยทิ้งล้าง ตั้งแต่ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาจนถึงประมาณสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นช่วงเวลาที่มีการค้ากับต่างประเทศมากอีกครั้งหนึ่ง มีเรือสำเภามาจอดที่ปากด่านเพื่อรอรับสินค้า เช่น ครั่ง ข้าว ไม้ฝาง ฯลฯ ไปขายยังต่างประเทส ในการค้าด้วยเรือสำเภาครั้งนั้นมีพระบรมวงศานุวงศ์แล้วข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ใช้เรือสำเภาค้าขายกับเมืองจีนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต่อมาได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหล่าข้าราชบริพารในพระองค์ที่มาในเรือสำเภานั้นได้
จอดพักเรือสำเภาบริเวณหน้าวัด ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ ซึ่งมีประวัติของวัดนี้ที่เกี่ยวข้องกับเจ้านายฝ่ายหน้าได้มาบูรณะวัดนี้
                เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สมุหนายก ได้รับราชการตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ มีสำเภาค้าขายกับจีน โดยที่ตัวท่านเป็นคนจีน และได้มาสร้างศาลาให้บริวารพักบริเวณใกล้วัด ศาลานี้คนทั่วไปจึงเรียกกันว่า ศาลาเจ้าคุณกุน หรือศาลาจีนกุน วัดที่อยู่ใกล้ศาลาจึงเรียกว่า วัดศาลากุล รวมทั้งเป็นชื่อเดิมของเกาะเกร็ดด้วย เมื่อการค้าสำเภายกเลิกไป บริเวณวัดศาลากุลที่สงบเงียบจึงเป็นวัดสำหรับพระสงฆ์ผู้รักสงบ หลวงพ่อสุ่น พระเกจิอาจารย์ อดีตเอาวาสวัดศาลากุล เป็นเถระที่มีชื่อเสียงของวัดศาลากุลนี้ สำหรับชื่อวัดนั้นเขียนแตกต่างกันเป็น ๒ อย่างคือ ศาลากุล และศาลากุน แต่ปัจจุบันใช้ วัดศาลากุล วัดมีที่ดินทั้งหมด 40 ไร่ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันชื่อพระครูธรรมะคุณากร มีพรรษา 25 พรรษา มีพระภายในวัดจำนวน 12 รูป
สิ่งสำคัญภายในวัด
                สิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัดไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ ศาลาการเปรียญหมู่กุฏี เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ทั้งหมด
                อุโบสถ   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด ๕ ห้อง หลังคาลด ๒ ชั้น มีมุขคลุมชานชาลาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยปูนประดับกระจกหน้าบันเป็นปูนปิดทองประดับกระจก
                วิหารด้านใต้อุโบสถ    มีวิหารประดิษฐานรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และหน้าบันเป็นปูนปิดทองประดับกระจกสี
                สระน้ำ   บริเวณด้านตะวันออกของหมู่กุฏิใกล้คลองวัดศลากุลมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมสำหรับกักน้ำจากคลองทางวัด สมัยก่อนพระสงฆ์ใช้ฉันใช้ทรงน้ำได้ ผนังของสระทั้งสี่ด้านก่ออิฐฉาบปูน แต่ละด้านมีทางเดินลงไปสระได้ บนได้ทางเดินลงสระนั้นก่อเป็นผนังเหมือนเป็นขอบสระชั้นใน การออกแบบสระน้ำเช่นนี้เป็นภูมิปัญญาเชิงช่างที่ดี ถัดจากสระน้ำมาทางด้านคลอง มีสะพานปูนเล็กๆที่สร้างคร่อมคลองเล็กที่เข้าไปที่อู่เก็บเรือของวัด สะพานปูนนี้ออกแบบง่าย ๆ แต่สวยงามและกลมกลืนกับธรรมชาติริมคลองหน้าวัดนี้
                หีบมุกและโต๊ะหมู่มุก   หลวงพ่อสุนอดีตเจ้าอาวาสวัดศาลากุลท่านได้สร้างหีบมุกพร้อมโต๊ะหมู่ชุดใหญ่ที่ประดับมุกไฟอย่างดี และฝีมืองดงามมาก พร้อมเครื่องแก้วเจียระไนชุดใหญ่ นับเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีความงดงาม และมีคุณค่ายิ่งที่เป็นสมบัติของวัดศาลากุล
                เครื่องมุกและเครื่องแก้วเจียระไนเป็นที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ ๕ วัดใดที่มีเครื่องมุกเครื่องแก้วที่สวยงามจึงเป็นวัดที่ได้รับการยกย่องมาก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา